"สูตรสำเร็จการเปิดบัญชี(Opening Entry ) ชัดเจนตรงประเด็นภาษี" จะช่วยเคลียร์ประเด็นปัญหาในการจัดทำบัญชีและภาษีอากรเมื่อมีต้นปี ระหว่างปี ในรายการค้าที่เกิดขึ้นมักจะเกิดข้อผิดพลาดหรือเข้าใจผิดในตัวบทกฎหมาย มาตรฐานการบัญชี และภาษีอากรอยู่เป็นประจำ สิ่งที่นักบัญชีต้องปฏิบัติ และระมัดระวังในการเปิดบัญชี (Opening Entry) ในการบันทึกรายการบัญชีเมื่อมีการนำเงินสด หรือสินทรัพย์หรือสินทรัพย์และหนี้สินมาลงทุนเป็นครั้งแรกหรือเป็นการบันทึกรายการบัญชีเมื่อมีการเริ่มต้นรอบระยะเวลาบัญชีใหม่ รวมถึงรายการอื่นตามปกติของเหตุการณ์ค้าแนวปฏิบัติที่สำคัญทั้งมาตรฐานการบัญชีและภาษีอากร *สูตรสำเร็จ รายได้และการรับรู้รายได้ *สูตรสำเร็จ ค่าใช้จายและการรับรู้ค่าใช้จ่าย *สูตรสำเร็จ สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ คำนำ หลังจากสิ้นรอบบัญชีกิจการได้มีการจัดทำงบการเงินเพื่อแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการแล้ว ปีถัดไปเมื่อต้นรอบระยะเวลาบัญชี กิจการจะต้องมีการเปิดบัญชี (Opening Entries) เพื่อนำรายการในงบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุนและข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับปีก่อน นำมาบันทึกรายการค้าในปีปัจจุบัน เพื่อบันทึกเหตุการณ์ค้าที่เกิดในปัจจุบันต่อไป ไม่ว่าจะเป็นรายได้ ค่าใช้จ่าย สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของที่มีเหตุการณ์ค้าเกิดขึ้นเป็นประจำ ปัญหาในการจัดทำบัญชีและภาษีอากร เมื่อต้นปี ระหว่างปีในรายการค้าเกิดขึ้นเป็นประจำ ปัญหาในการจัดทำบัญชีและภาษีอากร เมื่อต้นปี ระหว่างปีในรายการค้าที่เกิดขึ้นมักจะเกิดข้อผิดพลาดหรือเข้าใจผิดในตัวบทกฎหมาย มาตรฐานบัญชีและภาษีอากรอยู่เป็นประจำ สิ่งที่นักบัญชีต้องปฏิบัติและระมัดระวังในการเปิดบัญชี (Opening Entry) ในการบันทึกรายการบัญชีเมื่อมีการนำเงินสดหรือสินทรัพย์และหนี้สินมาลงทุนเป็นครั้งแรก หรือเป็นการบันทึกรายการบัญชีเมื่อมีการเริ่มต้นรอบระยะเวลาบัญชีใหม่รวมถึงรายการอื่นตามปกติของเหตุการณ์ค้า แนวปฏิบัติที่สำคัญ ทั้งมาตรฐานการบัญชีและภาษีอากร หนังสือ สูตรสำเร็จ...การเปิดบัญชี (Opening Entry) ชัดเจนตรงประเด็นภาษี ได้จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นแนวปฏิบัติของนักบัญชี เมื่อต้นรอบระยะเวลาบัญชีและในระหว่างปีหรือในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีจะต้องปฏิบัติอย่างไรตามมาตรฐานการบัญชีและภาษีอากรให้ถูกต้องครบถ้วน สมเดช โรจน์คุรีเสถียร มีนาคม 2558 สารบัญ Chapter 1 จุดเริ่มต้นของการเปิดบัญชี Chapter 2 สูตรสำเร็จของ “รายได้และการรับรู้รายได้” Chapter 3 สูตรสำเร็จ “ค่าใช้จ่ายและการรับรู้ค่าใช้จ่าย” Chapter 4 สูตรสำเร็จ “สินทรัพย์” และ “หนี้สิน”