
Author : จันทริมา เจริญพันธุ์
Publishing Date : Jun 13, 2024
ตำราเรื่อง ระบบประสาทควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายนี้ ใช้ประกอบการสอนบรรยายวิชา พศ.023 การเคลื่อนไหวและระบบประสาท ซึ่งเป็นรายวิชาในการศึกษาสำหรับนักศึกษาแพทย์แผนไทยประยุกต์ ชั้นปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจ ถึงหลักการทำงานของระบบประสาทควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย และระบบอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งตำราเล่มนี้มีการใช้คำทับศัพท์ในภาษาอังกฤษเป็นบางคำ เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนของนักศึกษา และภายหลังจากจบการบรรยายร่วมกับการศึกษารายละเอียดจากตำราเล่มนี้แล้วผู้เขียนหวังว่านักศึกษาจะสามารถใช้ประโยชน์จากตำราเล่มนี้ในการทบทวนความรู้ และเป็นพื้นฐานความเข้าใจ เพื่อนำไปต่อยอดเมื่อศึกษาต่อไปในอนาคตได้

Author : ดร.นรินทรา จันทศร, ดร.พิทักษ์ สพุรรโณภาพ, ศาสตราจารย์ ดร.คณิต เขียววิชัย และ อัยรัสต์ แกสมาน
Publishing Date : Sep 16, 2022
รายงานการวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย จาก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Author : อัศวิณีย์ หวํานจริง (นิรันต์)
Publishing Date : Sep 28, 2021
เนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนกระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมกระจกบนผนังวิหารวัดท่าข้าม(ชัยชนะ) อำเภอฮดด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเรื่องราวของเมืองพิสดารนครและตำนานพระนางจามเทวีประวัติศาสตร์ของชุมชนฮอด

Author : อัศวิณีย์ หวานจริง (นิรันต์)
Publishing Date : Sep 28, 2021
เรื่องราวเกี่ยวกับตำนานประวัติศาสตร์ของเมืองพิสดารนครซึ่งเป็นเส้นทางเสด็จของ พระนางจามเทวี เพื่อไปครองเมืองหริภุญชัยเป็นองค์ปฐมกษัตริย์แห่งล้านนา กาลเวลาผ่านไป

Author : เชษฐภูมิ วรรณไพศาล
Publishing Date : Sep 28, 2021
รวบรวมเครื่องมือการวิจัยทางสังคม และตัวอย่างของเครื่องมือการวิจัยไว้อย่างครบถ้วน เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากแนวคิดทฤษฎีและหลักการจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งไทยและต่างประเทศมาประยุกต์

Author : อภิโชค เลขะกุล
Publishing Date : Sep 28, 2021
การวิจัยเน้นที่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยใช้กระบวนการที่เป็นระบบเพื่อตอบคำถามหรือแก้ปัญหา ให้ตรงเป้าหมายและเชื่อถือได้มากที่สุด ส่วนการออกแบบนั้น เป็นการใช้องค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วในการสร้างสรรค์ผลงานที่ตอบโจทย์และ,หรือแก้ปัญหาทางการใช้งาน ทางเทคโนโลยี และทางสุนทรียภาพ การที่นักออกแบบจะก้าวเข้ามาเป็นนักวิจัยที่ดีจะต้องทำความเข้าใจกับการวิจัยเสียก่อน การวิจัยและระเบียบวิธีวิจัยนั้นเป็นสิ่งที่เป็นกลาง และเป็นมาตรฐานที่เทียบกันได้ระหว่างสาขาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือมนุษยศาสตร์ ความแตกต่างขึ้นอยู่แนวทางของการวิจัย วัตถุประสงค์ชนิดของข้อมูล และบริบทของงานวิจัยนั้นๆ นักวิจัยในสาขาที่เกี่ยวกับการออกแบบสภาพแวดล้อม (สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรม หรือการออกแบบชุมชน) จึงจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจในระเบียบวิธีวิจัย ตลอดจนสามารถทำวิจัยที่ได้มาตรฐานเช่นเดียวกับสาขาอื่นๆ

Author : สิระ สมนาม
Publishing Date : Sep 28, 2021
ปกิณกะบทความเชิงวิชาการว่าด้วยเรื่องหลักภาษาไทย วรรณคดีวรรณกรรมไทย นโยบายภาษาและหลักสูตรอันเกี่ยวเนื่องกับการจัดการศึกษา ตลอดจนถึงการสอนและการวิจัยทางภาษา

Author : พรสุข เกิดสว่าง
Publishing Date : Sep 28, 2021
การถ่ายทอดภาพที่เห็นรือเชื่อมั่นผ่านงานศิลปะทุกแขนง วาด แกะ สาน ร้อย ผูก พิมพ์ ตอก หล่อ ทอ ปัก โดยใช้วัสดุธรรมชาตินับแต่เมล็ด ราก เถา ต้น ยาง ใบ ใย กระดูกเขี้ยว หนัง และขน อาจคือหนึ่งในการต่อสู้โดยธรรมชาติ เพื่อยืนยันตัวตนของตนเองบนโลก อาจเป็นการดำรงอยู่กับความงามนี้เองที่ช่วยยึกโยงให้จิตวิญญาณของชนชาติพันธุ์บนเทือกเขาแข็งแกร่งอยู่เสมอ ท่ามกลางหลายอำนาจซึ่งพยายามกลืนกินและกดทับอยู่ในทุกวันนี้

Author : สันต์ สุวัจฉราภินันท์
Publishing Date : Sep 28, 2021
เป็นหนังสือบุกเบิก เปิดประเด็นความสัมพันธ์และพลวัตรของมิติกายภาพและมิตินามธรรมของพื้นที่ให้ความรู้และเสนอแนวคิดเชิงทฤษฎีสถาปัตยกรรม ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเรียนการสอนและการวิจัยค้นคว้าทางด้านสถาปัตยกรรมในสังคมไทย

Author : ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี
Publishing Date : Sep 28, 2021
วัฒนธรรมการทำมาหากินโดยการปลูกข้าวนาดำ "เฮ็ดนาเมืองลุ่ม" ทำให้ชาวไทในอัสสัมและอรุณาจัลประเทศ เลือกตั้งถิ่นฐานอยู่บนที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำพรหมบุตรและแควของแม่น้ำนั้นเช่น น้ำหก (Dhihing river) ปรับแต่งพื้นที่ลุ่มน้ำให้เป็นนา และวางระบบผันน้ำเข้านา เพื่อปลูกข้าวนาดำตามวิถีเดิมสร้างเรือนไม้และไม้ไผ่ที่มีเสาและยกพื้นเรื่อนขึ้นสูง มีใต้ถุน เพื่อให้พ้นจากน้ำเวลาน้ำท่วม มีแต่กลุ่มไทอาหมเท่านั้นที่รับวัฒนธรรมแบบอินเดียในการสร้างเรือนแบบใช้พื้นดินเป็นพื้นเรือน วัฒนธรรมไทที่ให้ความเข้มข้มกับการเป็นเครือญาติและชุมชน ทำให้ชาวไทอยู่กระจุกตัวเป็นหมู่บ้าน มีหอเสื้อบ้านซึ่งคือที่สิงสถิตของบรรพชนผู้สร้างหมู่บ้าน นิยมแต่งงานภายในกลุ่มคนไทด้วยกัน สร้างเรือนแล้วขยายเพิ่มห้องต่อเรือนให้ยาวออกไปเรื่อยๆ หรือสร้างเรือนเล็กติดกับเรือนใหญ่ เรียกว่าเรือนอ่อน ความสำคัญของครอบครัวในวัฒนธรรมไท ทำให้ห้องครัวหรือที่เตาไฟมีความเป็นพิเศษ เป็นที่ซึ่งสมาชิกต่างรุ่นอายุของครอบครัวจะมาพบปะสัมพันธ์กันในรอบวัน

Author : สันต์ สุวัจฉราภินันท์
Publishing Date : Sep 28, 2021
หนังสือเรื่อง "เชียงใหม่ -ใหม่ : สถาปัตยกรรมสมัยใหม่แห่งเมืองเชียงใหม่ระหว่างปี พ.ศ.2427 - 2518" ของสันต์สุวัจฉราภินันท์ น่าจะถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญอีกครั้งหนึ่งในวงการล้านนาคดีศึกษาจากเดิม

Author : สกล บุญสิน
Publishing Date : Sep 28, 2021
ในยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ ทรัพยากรมนุษย์จัดได้ว่าเป็นทรัพยากรที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์การ และถูกยกระดับขึ้นไปเป็นทุนมนุษย์ขององค์การ และองค์การเองจะต้องจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างหลากหลายมากขึ้น เช่น ต้องมีการบริหารจัดการโดยคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายของพนักงานมากขึ้น (Workforce Diversity) มีการตรวจสอบผู้สมัครผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก หรือทวิตเตอร์ มีการตรวจสอบลักษณะทางพันธุกรรมของผู้สมัครหรือมีการจ้างงานผู้พ้นโทษ (Ex-offenders) เพื่อสร้างโอกาสให้กับผู้กระทำผิดได้กลับเข้าสู่การทำงานในองค์การอีกครั้ง การใช้ระบบพี่เลี้ยง ซึ่งต่างไปจากเดิม คือ การให้พนักงานใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ สอนงานพนักงานเดิม การใช้ระบบพี่เลี้ยงแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ให้พนักงานได้ติดต่อกับพี่เลี้ยงผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดการเผชิญหน้า หรือไม่สนิทคุ้นเคย และติดต่อได้ทุกที่ทุกเวลา ตลอดจนการใช้เครือข่ายทางสังคมในการจัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Programs) ซึ่งหลากหลายเรื่องราวใหม่ๆ นี้ ถือเป็นความท้าทายในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่หนังสือเล่มนี้ได้ให้องค์ความรู้อย่างชัดเจน และเป็นประโยชน์ทั้งในทางทฤษฎีและการปฎิบัติต่อผู้สนใจเป็นอย่างดี
12NextLast