Author : ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำริห์กุล
Publishing Date : Sep 28, 2021
ประวัติศาสตร์และศิลปะล้านนา “ล้านนา” ในอดีตเป็นกลุ่มบ้านเมืองหรือแคว้นสำคัญที่มีดินแดนตั้งอยู่บนสี่ลุ่มน้ำในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย คือ ปิง วัง ยม น่าน ซึ่งปัจจุบันคือจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เชียงราย พะเยา บ้านเมืองเหล่านี้มีมีเรื่องราวในทางประวัติศาสตร์ปรากฏชัดเจนอยู่ในเอกสาร ตำนานต่างๆ ของท้องถิ่น และมีร่องรอยหลักฐานโบราณวัตถุและโบราณสถานที่มีอัตลักษณ์ของตนเองเหลืออยู่จำนวนมาก
Author : สุเนตร ชุตินธรานนท์
Publishing Date : Sep 28, 2021
ผู้เขียนนำข้อมูลสำคัญว่าด้วยเหตุการณ์สงครามคราวเสียกรุง เท่าที่มีปรากฏในพงศาวดารฉบับหอแก้ว หรือภาคต้นของพงศาวดารฉบับราชวงศ์คองบอง (หลักฐานฝ่ายพม่า) มาตีแผ่และวิเคราะห์ในรายละเอียด เปรียบเทียบกับหลักฐานอื่นๆ การวิเคราะห์เน้นหนักไปในเรื่องยุทธศาสตร์และยุทธวิธีทางการทหารที่คู่สงครามทั้งสองฝ่ายนำมาใช้
Author : พิพัฒน์ กระแจะจันทร์
Publishing Date : Sep 28, 2021
หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เน้นที่การวิเคราะห์คดีปราสาทพระวิหาร แต่เป็นงานศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของผู้คนในพื้นที่พรมแดนเขาพระวิหาร ว่ามีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและความหมายของเส้นพรมแดนในแต่ละช่วงเวลานั้นเป็นอย่างไร ทำให้เราเห็น "ชีวิต" ผู้คนที่อาศัยอยู่บนเส้นพรมแดนแห่งความขัดแย้งนี้ ซึ่งผู้เขียนหวังว่า "การรับรู้และเข้าใจในประเด็นของชีวิตคนมากขึ้นนี้จะช่วยทำให้สังคมและกลุ่มคนที่มีรัฐชาติแบบอุดมคติตระหนักมากขึ้นถึงผลกระทบที่ต่อคนในพื้นทีชายแดนไทย-กัมพูชา" 
Author : ศักดิ์ชัย สายสิงห์
Publishing Date : Sep 28, 2021
นำเสนอข้อมูลทางประวัติศาสตร์ศิลปะล้านนา ทุกประเภท ตั้งแต่ งานสถาปัตยกรรม ประติมากรรม (พระพุทธรูป,งานปูนปั้น) และจิตรกรรม ทั้งนี้ผู้เขียนเป็นผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย โดยเฉพาะศิลปะล้านนา
Author : รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
Publishing Date : Sep 28, 2021
นำเสนอข้อมูลทางประวัติศาสตร์ศิลปะศรีลังกา ทุกประเภท ตั้งแต่ งานสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม โดยศิลปกรรมเหล่านี้เป็นศิลปะที่เกี่ยวเนื่องในพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาหลักของประเทศศรีลังกาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงส่วนงานพุทธศิลป์ที่ส่งอิทธิพลมายังสยามประเทศอีกด้วย ซึ่งรายละเอียดทางด้านข้อมูลและภาพประกอบสำหรับเอกสารภาษาไทยค่อนข้างมีน้อย จำกัดอยู่มาก หนังสือเล่มนี้จึงเป็นการเปิดโลกทัศน์เกี่ยวกับงานพุทธศิลป์ลังกาให้กว้างขึ้นอีกมาก
Author : เชษฐ์ ติงสัญชลี
Publishing Date : Sep 28, 2021
ศิลปะชวา เป็นหนังสือในชุด "ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศอาเซียน" ที่ว่าด้วยเรื่องประวัติศาสตร์ และศิลปกรรมโบราณในประเทศอินโดนีเซีย ศิลปะชวา แบ่งออกเป็นหมู่เกาะ หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงชวาตะวันออก
Author : ประภัสสร์ ชูวิเชียร
Publishing Date : Sep 28, 2021
แกะรอยศิลปกรรมสมัยอยุธยา ท่ามกลางความศิวิไลซ์ของมหานครกรุงเทพฯ ไม่ได้เริ่มต้นขึ้นจากการสถาปนาพระราชวัง หรือกำแพงเมืองแต่อย่างใด แต่ค่อยๆ ก่อร่างสร้างตัวจากชุมชน เรือกสวน ไร่นา มีวัดวาอารามอันเสมือนเป็นศูนย์กลางประจำท้องถิ่น ปัจจุบันเขตแดนเหล่านี้กำลังจะถูกกลืนกินด้วย “ความเจริญ” ที่คืบคลานจากกลางเมือง สู่ชานเมืองกรุงเทพฯ และปริมณฑล ศิลปกรรมบางแห่งถูกทิ้งร้างไม่ต่างจากเศษขยะของอดีต
Author : รศ.ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร
Publishing Date : Sep 28, 2021
เหตุการณ์รัฐประหารของ "สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริยศึก" ยึดอำนาจจาก "สมเด็จพระเจ้าตากสิน" เพื่อปราดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ และสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ คือ จุดจบของศิลปะกรุงธนบุรี ย้อนเวลากลับไปก่อนหน้านั้น 15 ปี กรุงธนบุรีสถาปนาขึ้นภายใต้ภาวะสงคราม สมเด็จพระเจ้าตากสินรวบรวมบ้านเมืองและผู้คนสร้างเมืองขึ้นใหม่ในพื้นที่เมืองธนบุรี-บางกอกเดิม หลักฐานมากมายระบุว่าพื้นที่เมืองธนบุรี-บางกอก มีผู้คนอยู่อย่างหนาแน่นมาก่อนที่สมเด็จพระเจ้าตากสินจะสถาปนากรุงธนบุรี ดังปรากฏวัดต่าง ๆ ในพื้นที่ที่มีร่องรอยศิลปะสมัยอยุธยา ซึ่งวัดเหล่านี้ได้ถูกปฏิสังขรณ์อยู่เรื่อย ๆ เนื่องจากวัดเป็นพื้นที่ใช้งานของผู้คนและชุมชน จึงต้องมีการบูรณะเพื่อใช้สอยอยู่เสมอ ดังนั้น ในช่วง 15 ปีของสมัยธนบุรี การซ่อม ปรับปรุง วัด จึงน่าเป็นงานช่างสมัยธนบุรีนั่นเอง
Author : นิธิพันธ์ วิประวิทย์
Publishing Date : Sep 28, 2021
ว่าด้วยการนำเอาสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจของจีนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มาคลี่ขยายเรื่องราวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้านประวัติความเป็นมา ความหมายที่แฝงอยู่ วิธีคิดของผู้ออกแบบหรือเปรียบเทียบกับแนวคิดสถาปัตยกรรมอื่นๆ ในโลก โดยผู้เขียนซึ่งเป็นสถาปนิกและมีความสนใจในประวัติศาสตร์จีน เพราะสถาปัตยกรรมไม่ใช่แค่อิฐ หิน ปูน ทราย แต่คือบันทึกเล่มใหญ่ที่ส่งผ่านประวัติศาสตร์และอารยธรรมอันยาวนานของชนชาติ
Author : ชาติชาย มุกสง, คำนิยม: ทวีศักดิ์ เผือกสม
Publishing Date : Sep 28, 2021
ในประวัติศาสตร์ไทย โรคระบาดคือภัยจากปีศาจร้ายที่เกรี้ยวกราด คำอธิบายทางการแพทย์แผนไทยเชื่อกันว่าโรคห่า (โรคที่คนตายเป็นจำนวนมาก) เกิดจากปีศาจทำของเข้า จนกระทั่ง การเปิดรับการแพทย์แผนตะวันตก จากโรคห่าของปีศาจ ได้กลายเป็นโรคที่มาจากการหมักหมมของสิ่งปฏิกูล จนทำให้เกิดอายพิศม์(ไอพิษ) ลอยมาในอากาศ ใครถูกอายพิศม์เข้าก็ติดโรคได้ ตราบจนกระทั่งการค้นพบ "เชื้อโรค" ความเชื่อที่ว่าโรคร้ายมาจากอายพิศม์จึงค่อยๆ เปลี่ยนเป็น "เชื้อโรค" ตัวจิ๋วที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
Author : ชาตรี ประกิตนนทการ
Publishing Date : Sep 28, 2021
"ชาตรี ประกิตนนทการ เป็นนักวิชาการที่มีความละเอียดลออในการนำเสนอและให้ความกระจ่างในประเด็นต่างๆ 'ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร' ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานของเขา ได้เปิดพรมแดนใหม่ทางศิลปะและสถาปัตยกรรมไทยและสร้างความรู้ได้อย่างลุ่มลึกและรอบด้าน
Author : มณฑล ประภากรเกียรติ
Publishing Date : Sep 28, 2021
กว่าจะเป็นถนนอย่างที่เห็นในปัจจุบัน การคมนาคมของไทยมีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ถนนแต่ละสายจึงมีประวัติศาสตร์เหตุการณ์เกิดขึ้นมากมายที่เราไม่เคยรู้