Author : Mark Kurlansky
Publishing Date : Jul 27, 2017
When Peter Minuit bought Manhattan for $24 in 1626 he showed his shrewdness by also buying the oyster beds off tiny, nearby Oyster Island, renamed Ellis Island in 1770. From the Minuit purchase until pollution finally destroyed the beds in the 1920s, New York was a city known for its oysters, especially in the late 1800s, when Europe and America enjoyed a decades-long oyster craze. In a dubious endorsement, William Makepeace Thackeray said that eating a New York oyster was like eating a baby. Travellers to New York were also keen to experience the famous New York oyster houses. While some were known for their elegance, due to a longstanding belief in the aphrodisiac quality of oysters, they were often associated with prostitution. In 1842, when the novelist Charles Dickens arrived in New York, he could not conceal his eagerness to find and experience the fabled oyster cellars of New York City's slums. The Big Oyster is the story of a city and of an international trade.Filled with cultural, social and culinary insight - as well as recipes, maps, drawings and photographs - this is history at its most engrossing, entertaining and delicious.
Author : มณฑล ประภากรเกียรติ
Publishing Date : Sep 28, 2021
กว่าจะเป็นถนนอย่างที่เห็นในปัจจุบัน การคมนาคมของไทยมีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ถนนแต่ละสายจึงมีประวัติศาสตร์เหตุการณ์เกิดขึ้นมากมายที่เราไม่เคยรู้
Author : วีระยุทธ ปีสาลี
Publishing Date : Jul 27, 2018
นำเสนอรูปแบบการใช้ชีวิตยามค่ำคืนของคนกรุงเทพฯ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมตะวันตก สมัยรัชกาลที่ ๕ ถึงสงครามโลกครั้งที่ ๒ และการกลายสภาพเป็นเมืองกลางคืนที่มีความเคลื่อนไหวของคนกลุ่มต่างๆ ที่ออกมาทำกิจกรรมยามค่ำคืน
Author : ศักดิ์ชัย สายสิงห์
Publishing Date : Sep 28, 2021
ศึกษางานศิลปกรรมในสมัยรัชกาลที่ 3 ยุคสมัยที่มีการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดอารามมากที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ ด้วยพระราชศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาในองค์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นสำคัญ สมดังพระราชศรัทธาประการหนึ่งที่มักกล่าวกันเสมอมาว่า ต้องการสร้างวัดวาอารามให้เหมือนเมื่อครั้งบ้านเมืองยังดี คือในสมัยอยุธยา
Author : ชาติชาย มุกสง, คำนิยม: ทวีศักดิ์ เผือกสม
Publishing Date : Sep 28, 2021
ในประวัติศาสตร์ไทย โรคระบาดคือภัยจากปีศาจร้ายที่เกรี้ยวกราด คำอธิบายทางการแพทย์แผนไทยเชื่อกันว่าโรคห่า (โรคที่คนตายเป็นจำนวนมาก) เกิดจากปีศาจทำของเข้า จนกระทั่ง การเปิดรับการแพทย์แผนตะวันตก จากโรคห่าของปีศาจ ได้กลายเป็นโรคที่มาจากการหมักหมมของสิ่งปฏิกูล จนทำให้เกิดอายพิศม์(ไอพิษ) ลอยมาในอากาศ ใครถูกอายพิศม์เข้าก็ติดโรคได้ ตราบจนกระทั่งการค้นพบ "เชื้อโรค" ความเชื่อที่ว่าโรคร้ายมาจากอายพิศม์จึงค่อยๆ เปลี่ยนเป็น "เชื้อโรค" ตัวจิ๋วที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
Author : ยุวดี ศิริ
Publishing Date : Aug 04, 2018
หนังสือ "ตึกเก่า-โรงเรียนเดิม" เล่มนี้ ได้ค้นคว้าและรวบรวมความสำคัญของอาคารเรียนหลังเก่า จำนวน 16 แห่ง อาทิ อาคารสุนันทาลัยของโรงเรียนราชินี, ตึกยาวของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย, ตึกกอลมเบต์ของโรงเรียนอัสสัมชัญ, โรงเรียนมิชชันนารีชาย-หญิงแห่งแรกในสยาม กรุงเทพคริสเตียน-วัฒนาวิทยาลัย และอื่นๆ อีกมากมาย โดยเล่าเรื่องราวของโรงเรียน ผ่านความสำคัญของอาคารเรียน ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และทางสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรากฐานระบบการศึกษาไทยในปัจจุบัน อีกทั้งเป็นการร่วมกันอนุรักษ์ให้เป็นสมบัติทางการศึกษาของชาติ
Author : ยุวดี ศิริ
Publishing Date : Sep 28, 2021
ตึกเก่าทรงคุณค่า รากฐานและสัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญต่อสถานศึกษา ค้นคว้าและรวบรวมความสำคัญของอาคารเรียนหลังเก่า จำนวน ๑๖ แห่ง เช่น อาคารสุนันทาลัยของโรงเรียนราชินี, ตึกยาวของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย, ตึกกอลมเบต์ของโรงเรียนอัสสัมชัญ, โรงเรียนมิชชันนารีชาย-หญิงแห่งแรกในสยาม กรุงเทพคริสเตียน-วัฒนาวิทยาลัย เป็นต้น โดยเล่าเรื่องราวของโรงเรียน ผ่านความสำคัญของอาคารเรียน ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และทางสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรากฐานระบบการศึกษาไทยในปัจจุบันอีกทั้งเป็นการร่วมกันอนุรักษ์ให้เป็นสมบัติทางการศึกษาของชาติ
Author : ชานันท์ ยอดหงษ์
Publishing Date : Sep 28, 2021
มื่อราชสำนักฝ่ายใน ไม่ต้องการสตรี จึงไม่มี “นางใน” แล้วใครแทน?
Author : วริศรา ตั้งค้าวานิช
Publishing Date : Sep 28, 2021
เมื่อคนสมัยกรุงเทพฯ เขียนประวัติศาสตร์สุโขทัย ที่สัมพันธ์กับการสร้างประวัติศาสตร์แห่งชาติ ศึกษาการสร้างความเป็น "สุโขทัย" ในทางประวัติศาสตร์ซึ่งสัมพันธ์กับการสร้างประวัติศาสตร์แห่งชาติ ในช่วง พ.ศ. 2450 – 2534 แล้วแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วง พ.ศ. 2450 – 2495 ซึ่งเป็นช่วงที่สร้างให้สุโขทัยมาเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติ สร้างความเป็นไทย ความเป็นอุดมคติ โดยชนชั้นนำ นักประวัติศาสตร์สามัญชน และประวัติศาสตร์สุโขทัยที่สร้างในช่วงนี้ได้กลายมาเป็นประวัติศาสตร์กระแหลักในสังคมไทย และตั้งแต่ พ.ศ. 2496 – 2534 เป็นช่วงที่มีการสืบทอดประวัติศาสตร์กระแสหลัก ขณะเดียวกันก็มีประวัติศาสตร์กระแสรองขึ้นมาโต้แย้ง อีกทั้งยังเป็นช่วงที่เริ่มมีการเข้าไปจัดการบูรณะฟื้นฟูเมืองเก่าสุโขทัย จัดตั้งให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์และสร้างสถานที่ประเพณีประดิษฐ์ต่างๆ ขึ้นมารองรับแนวคิดกระแสหลัก
Author : สุภฤกษ์ บุญกอง
Publishing Date : Oct 04, 2018
เมื่อพ่อขุนบานเมือง กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยเสด็จสวรรคต "พ่อขุนรามคำแหง" ผู้เป็นพระอนุชา จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อมา พระองค์ทรงดำรงอยู่ในทศพิธราชธรรม เป็นกษัตริย์ผู้ชำนาญทั้งการรบและการปกครอง ทำนุบำรุงพุทธศาสนาจนเจริญรุ่งเรืองเป็นศูนย์กลางการศึกษา ทรงคิดแบบอักษรลายสือไทย ต้นแบบของอักษรไทยในปัจจุบัน ส่งเสริมการค้าขายทั้งภายในและต่างประเทศ ร่วมศึกษาพระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหง "มหาราช" พระองค์แรกของชาติไทย พร้อมกันได้แล้วในเล่ม!
Author : สุภฤกษ์ บุญทอง
Publishing Date : Oct 04, 2018
เมื่อกรุงศรีอยุธยาราชธานีถึงคราอวสาน ถูกพม่ารุกรานหวังยึดครอง "พระยาตาก" จึงรวบรวมสมัครไพร่พลตั้งรกรากอยู่ที่เมืองระยอง แล้วบุกเข้ายึดเมืองจันทบุรีจนได้กองกำลังเสริมมากมาย กองทัพสยามอันนำโดยพระยาตากเรียบตามแม่น้ำจนประชิดค่ายโพธิ์สามต้น ฝ่ายแม่ทัพสุกี้ผู้เคยมีชัยเหนือชาวบ้านบางระจัน เห็นทัพพระยาตากยกมาก็ต่อต้านสุดกำลัง บุกเข้าโจมตีโรมรัน ระดมยิ่งปืนใหญ่ทั้งทางบกและทางน้ำ แต่มิอาจจะหยุดกองทัพสยามได้ ในที่สุดทัพพม่าก็พ่ายแพ้กลับไป พระยาตากจึงประกาศชัยชนะ กอบกู้เอกราชกลับคืนมา สถาปนากรุงธนบุรี ปราบดาภิเษกเป็น "พระเจ้าตากสิน" แต่นั้นมา นี่คือเรื่องราวของวีรกษัตริย์จอมนักรบ ผู้กอบกู้เอกราชไทยจากพม่าหลังจากเสียกรุง ครั้งที่ 2 ที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง!